การเสนอวาระประชุมผู้ถือหุ้น
หลักเกณฑ์การให้ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเสนอระเบียบวาระการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น และ/หรือ ชื่อกรรมการล่วงหน้า
เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ถือหุ้นว่า จะได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) จึงเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยสามารถเสนอระเบียบวาระการประชุมในการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี รวมทั้งเสนอชื่อผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมเข้าเป็นกรรมการบริษัท โดยมีขั้นตอนและวิธีปฏิบัติที่ชัดเจนและโปร่งใส
“บริษัท” หมายถึง บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน)
“คณะกรรมการ” หมายถึง คณะกรรมการบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด
(มหาชน)
“ระเบียบวาระการประชุม” หมายความว่า ระเบียบวาระการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีของบริษัท ผลิตไฟฟ้า
จำกัด (มหาชน)
“กรรมการที่เป็นผู้บริหาร” หมายถึง กรรมการที่เป็นสมาชิกของฝ่ายบริหาร
ผู้ถือหุ้นที่จะเสนอระเบียบวาระการประชุม และ /หรือเสนอชื่อกรรมการต้องเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท ณ วันที่เสนอระเบียบวาระการประชุมหรือเสนอชื่อกรรมการ ซึ่งอาจเป็นผู้ถือหุ้นรายเดียวหรือหลายรายรวมกันได้โดยมีสัดส่วนการถือหุ้นขั้นต่ำไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.05 หุ้น (คิดเป็นจำนวนหุ้น 263,233 หุ้น)
- 4.1 ขั้นตอนการเสนอวาระการประชุม
ผู้ถือหุ้นที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อ 3 จะต้องส่งแบบเสนอระเบียบวาระการประชุมพร้อมลงชื่อไว้เป็นหลักฐาน และส่งให้คณะกรรมการพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องภายในเวลาที่กำหนด ดังนี้
- หลักฐานการถือหุ้น ได้แก่ หนังสือรับรองจากบริษัทหลักทรัพย์ หรือ หลักฐานอื่นจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- เอกสารประกอบเพิ่มเติมที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาของคณะกรรมการ (ถ้ามี)
- 4.2 เรื่องที่จะไม่บรรจุเป็นระเบียบวาระการประชุม
โดยปกติแล้ว เรื่องที่จะไม่บรรจุเป็นระเบียบวาระการประชุมโดยทั่วไปจะประกอบด้วย
- เรื่องที่กำหนดในวรรคสองของมาตรา 89/28 ของพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.
2559 โดยมีรายละเอียด
ดังนี้ - เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจปกติของบริษัท
และข้อเท็จจริงที่กล่าวอ้างโดยผู้ถือหุ้นมิได้แสดงถึงเหตุอันควรสงสัยเกี่ยวกับความไม่ปกติของเรื่องดังกล่าว
- เป็นเรื่องที่อยู่นอกเหนืออำนาจที่บริษัทจะดำเนินการให้เกิดผลตามที่ประสงค์
- เป็นเรื่องที่ผู้ถือหุ้นได้เคยเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาแล้วในรอบสิบสองเดือนที่ผ่านมา และเรื่องดังกล่าวได้รับมติสนับสนุนด้วยคะแนนเสียงน้อยกว่าร้อยละสิบของจำนวนสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท เว้นแต่ข้อเท็จจริงในการนำเสนอครั้งใหม่จะได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญจากข้อเท็จจริงในขณะที่นำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นในครั้งก่อน
- กรณีอื่นใดตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด - เรื่องที่ขัดกับกฎหมาย ประกาศ ข้อบังคับ กฎและระเบียบต่างๆ ของหน่วยงานราชการ หรือหน่วยงานที่กำกับดูแลบริษัท หรือไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ข้อบังคับ มติที่ประชุมผู้ถือหุ้น การกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัท
- เรื่องที่เป็นอำนาจการบริหารจัดการของคณะกรรมการเว้นแต่เป็นกรณีที่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมีนัยสำคัญต่อผู้ถือหุ้นโดยรวม
- เรื่องที่บริษัทได้ดำเนินการแล้ว
- เรื่องที่กำหนดในวรรคสองของมาตรา 89/28 ของพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.
2559 โดยมีรายละเอียด
ดังนี้ - เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจปกติของบริษัท
และข้อเท็จจริงที่กล่าวอ้างโดยผู้ถือหุ้นมิได้แสดงถึงเหตุอันควรสงสัยเกี่ยวกับความไม่ปกติของเรื่องดังกล่าว
- 5.1 ขั้นตอนการเสนอชื่อกรรมการ
ผู้ถือหุ้นที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อ 3 ต้องกรอกข้อมูลในแบบเสนอชื่อกรรมการ และส่งให้คณะกรรมการพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องภายในเวลาที่กำหนดดังนี้
- หลักฐานการถือหุ้น ได้แก่ หนังสือรับรองจากบริษัทหลักทรัพย์ หรือ หลักฐานอื่นจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- หลักฐานการให้ความยินยอมของบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อ พร้อมเอกสารประกอบการพิจารณาด้านคุณสมบัติ ได้แก่ การศึกษาและประวัติการทำงาน (Curriculum Vitae) ของบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อ
- เอกสารประกอบเพิ่มเติมที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาของคณะกรรมการ (ถ้ามี)
- 5.2 คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการ
บุคคลที่ได้รับเสนอชื่อเป็นกรรมการต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังนี้
- มีคุณสมบัติถูกต้องและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายบริษัทมหาชนจำกัด กฎหมายหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัท
- มีความรู้ ความสามารถ ความเป็นอิสระ ปฏิบัติหน้าที่กรรมการด้วยความระมัดระวังด้วยความซื่อสัตย์ (Duty of Care and Duty of Loyalty) สามารถทุ่มเทอุทิศเวลาได้อย่างเต็มที่ สามารถเข้าประชุมคณะกรรมการอย่างสม่ำเสมอ มีการเตรียมตัวเป็นการล่วงหน้าก่อนการประชุมเป็นอย่างดีมีส่วนร่วมที่สร้างสรรค์ในการประชุม มีความตรงไปตรงมา มีความกล้าหาญในการแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม
- มีความรู้ความสามารถที่สำคัญต่อธุรกิจของบริษัท ได้แก่ ด้านอุตสาหกรรม/ธุรกิจพลังงาน/วิศวกรรม ด้านธุรกิจต่างประเทศ ด้านกลยุทธ์/แผนธุรกิจ ด้านทรัพยากรมนุษย์ ด้านบัญชี/การเงิน/เศรษฐศาสตร์ ด้านการตรวจสอบ ด้านการควบคุมภายใน/การบริหารความเสี่ยง ด้าน Smart Technology ด้านกฎหมาย และด้านการกำกับดูแลกิจการ
- ไม่ควรดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทเกิน 2 บริษัทในกรณีที่เป็นกรรมการที่เป็นผู้บริหาร และ 3 บริษัทในกรณีที่เป็นกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร (สอดคล้องกับนิยามข้างต้น)
- มีอายุไม่เกิน 72 ปี ณ วันที่ได้รับการแต่งตั้ง โดยหากได้รับการแต่งตั้งแล้ว ให้สามารถดำรงตำแหน่งได้จนครบวาระ
- 5.3 คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการอิสระ
บุคคลที่ได้รับเสนอชื่อเป็นกรรมการอิสระต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังนี้
- ถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 0.5 ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง (นับรวมบุคคลที่เกี่ยวข้องตามมาตรา 258 ตามกฎหมายหลักทรัพย์)
- ไม่เป็นหรือเคยเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมในการบริหารงาน (กรรมการที่ดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหาร กรรมการที่ทำหน้าที่รับผิดชอบเยี่ยงผู้บริหารและกรรมการที่มีอำนาจลงนามผูกพัน เว้นแต่แสดงได้ว่าเป็นการลงนามผูกพันตามรายการที่คณะกรรมการมีมติอนุมัติไว้แล้ว และเป็นการลงนามร่วมกับกรรมการรายอื่น) ลูกจ้าง พนักงาน หรือที่ปรึกษาที่ได้รับเงินเดือนประจำ/ผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทร่วม บริษัทย่อยลำดับเดียวกัน (บริษัทย่อยตั้งแต่ 2 บริษัทขึ้นไปที่มีบริษัทใหญ่เป็นบริษัทเดียวกัน) หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี
- ไม่เป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต หรือโดยการจดทะเบียนตามกฎหมายในลักษณะที่เป็นบิดามารดา คู่สมรส พี่น้องและบุตร รวมทั้งคู่สมรสของบุตรของผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอำนาจควบคุม หรือบุคคลที่จะได้รับการเสนอให้เป็นผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทหรือบริษัทย่อย
- ไม่มีหรือเคยมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง ในลักษณะที่อาจเป็นการขัดขวางการใช้วิจารณญาณอย่างอิสระของตน รวมทั้งไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กรรมการซึ่งไม่ใช่กรรมการอิสระหรือผู้บริหารของผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วมหรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันที่ยื่นคำขออนุญาตต่อสำนักงาน
- ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง และไม่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กรรมการซึ่งไม่ใช่กรรมการอิสระ ผู้บริหาร หรือหุ้นส่วนผู้จัดการของสำนักงานสอบบัญชีซึ่งมีผู้สอบบัญชีของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งสังกัดอยู่เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี ก่อนวันที่ยื่นคำขออนุญาตต่อสำนักงาน
- ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ให้บริการทางวิชาชีพใดๆ ซึ่งรวมถึงการให้บริการเป็นที่ปรึกษากฎหมายหรือที่ปรึกษาทางการเงินซึ่งได้รับค่าบริหารเกินกว่าสองล้านบาทต่อปีจากบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ให้บริการทางวิชาชีพเป็นนิติบุคคล ให้รวมถึงการเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กรรมการซึ่งไม่ใช่กรรมการอิสระผู้บริหารหรือหุ้นส่วนผู้จัดการของผู้ให้บริการทางวิชาชีพนั้นด้วย เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันที่ยื่นคำขออนุญาตต่อสำนักงาน
- ไม่เป็นกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของกรรมการของบริษัท ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท
- ไม่มีลักษณะอื่นใดที่ทำให้ไม่สามารถให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัท
ผู้ถือหุ้นส่งแบบรายการและเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ฝ่ายเลขานุการบริษัท ตามที่อยู่ ดังนี้
ฝ่ายเลขานุการบริษัท
บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน)
อาคารเอ็กโก 222 ถนนวิภาวดีรังสิต ทุ่งสองห้อง
หลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
หรือแจ้งเรื่องอย่างไม่เป็นทางการที่ Email Address ของคณะกรรมการบริษัท directors@egco.com ก่อนส่งต้นฉบับของแบบรายการพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ฝ่ายเลขานุการบริษัท
ฝ่ายเลขานุการบริษัทจะเป็นผู้รับผิดชอบในการสอบทานความครบถ้วนของข้อเสนอของผู้ถือหุ้น และนำเสนอคณะกรรมการพิจารณาต่อไป ซึ่งข้อวินิจฉัยของคณะกรรมการต่อข้อเสนอของผู้ถือหุ้นถือเป็นสิ้นสุด โดยมีขั้นตอนดำเนินการ ดังนี้
- (7.1) เรื่องที่ผู้ถือหุ้นให้ข้อมูลไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้อง เลขานุการบริษัทจะแจ้งผู้ถือหุ้นภายในวันที่ 20 มกราคม 2566 โดยหากผู้ถือหุ้นไม่ดำเนินการแก้ไข และส่งต้นฉบับคืนให้ถึงบริษัทภายในวันที่ 31 มกราคม 2566 เลขานุการบริษัทจะส่งหนังสือแจ้งผู้ถือหุ้นเพื่อทราบการปิดเรื่อง
- (7.2) เรื่องที่เสนอโดยผู้ถือหุ้นที่มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามข้อ 3 เลขานุการบริษัทจะส่งหนังสือแจ้งผู้ถือหุ้นเพื่อทราบการปิดเรื่องภายในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566
- (7.3) เรื่องที่ไม่เข้าข่ายตาม (7.1) หรือ (7.2) เลขานุการบริษัทจะรวมเสนอต่อคณะกรรมการในการประชุมคณะกรรมการเดือนกุมภาพันธ์ 2566
- (7.4) คณะกรรมการจะเป็นผู้พิจารณาความเหมาะสมของระเบียบวาระการประชุมที่ผู้ถือหุ้นเสนอ ทั้งนี้ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการถือเป็นที่สุด เรื่องที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการจะบรรจุเป็นระเบียบการประชุมในหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้น พร้อมข้อคิดเห็นของคณะกรรมการ
- (7.5) บริษัทจะแจ้งเรื่องที่ไม่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการและเรื่องตามข้อ 4.2 (1) – (4) ข้อ(7.1) และ (7.2) ให้ผู้ถือหุ้นทราบทันทีหลังการประชุมคณะกรรมการบริษัท หรือในวันทำการถัดไป พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลผ่านช่องทางของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เว็บไซต์ของบริษัท ที่ www.egco.com และแจ้งเป็นระเบียบวาระเพื่อทราบในการประชุมผู้ถือหุ้นพร้อมระบุเหตุผลในการปฏิเสธด้วย
- (7.6) ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นในการประชุมตามข้อ 7.5 มีมติด้วยคะแนนเสียงข้างมากของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง เห็นชอบให้มีการบรรจุเรื่องที่เสนอโดยผู้ถือหุ้นเป็นระเบียบวาระการประชุมของผู้ถือหุ้น คณะกรรมการจะบรรจุเรื่องดังกล่าวเป็นวาระในการประชุมผู้ถือหุ้นที่บริษัทจะจัดให้มีในครั้งถัดไป